สงกรานต์กับพลังศักดิ์สิทธิ์ของสตรี

พลังการเปลี่ยนแปลงแห่งศักติ

ในศาสนาฮินดู “ศักติ” (Shakti) เป็นตัวแทนของพลังแห่งความเป็นหญิงอันศักดิ์สิทธิ์ พลังสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรากฐานของจักรวาล ศักติคือพลังที่ขับเคลื่อนการสร้าง การธำรงรักษา และการทำลาย เพื่อให้เกิดวัฏจักรแห่งชีวิตความเชื่อมโยงระหว่างสงกรานต์กับศักติ ไม่ได้ปรากฏอย่างชัดเจนโดยตรง แต่ซ่อนอยู่ในสัญลักษณ์และพิธีกรรมของเทศกาลนี้ เป็นกระแสอันละเอียดอ่อนที่สามารถเข้าใจได้ผ่านการวิเคราะห์เชิงลึก

“น้ำ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสงกรานต์ สามารถมองได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของศักติ น้ำเป็นต้นกำเนิดของชีวิต หล่อเลี้ยงสรรพสิ่งให้คงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของศักติในฐานะพลังสร้างสรรค์แห่งจักรวาล การสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างสิ่งไม่ดีและมลทินทางจิตใจ เปิดทางให้เกิดการฟื้นฟูทั้งทางจิตวิญญาณและอารมณ์ ซึ่งสอดคล้องกับพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและการชำระล้างของศักติ

ธิดาทั้งเจ็ดของพระพรหม ผู้ที่อัญเชิญเศียรของพระองค์ในขบวนแห่ตามตำนาน ก็เป็นตัวแทนของพลังแห่งความเป็นหญิง และมีบทบาทสำคัญในเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยเฉพาะสตรีผู้สูงวัย ยังสะท้อนถึง การให้ความเคารพต่อภูมิปัญญาของสตรีและความต่อเนื่องของชีวิต

ภาพของ “นางสงกรานต์” หรือ ธิดาทั้งเจ็ดของพระพรหม ต่อไปนี้เป็นการตีความทางศิลปะโดย ดร. Shaw Hong Ser ศิลปินชาวมาเลเซีย

Mahotara
Devi

มโหทรเทวี

มโหทรเทวีคือนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ นางสวมพวงมาลัยดอกสามหาว และเครื่องประดับทำจากนิลรัตน์ ในพระหัตถ์ขวาถือจักร ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล นางประทับบนหลังนกยูงอันสง่างาม เครื่องสักการะของนางคือเนื้อทราย

Tungsa
Devi

ทุงษเทวี

ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ นางประดับเรือนผมด้วยดอกทับทิม และสวมเครื่องประดับจากแก้วทับทิม นางทรงบรรทมเหนือหลังของพญาครุฑ และบริโภคมะเดื่อเป็นภักษาหาร พระหัตถ์ขวาถือจักร ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือสังข์

Koraka Devi

โคราคะเทวี

โคราคะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ นางประดับเรือนผมด้วยดอกปีป และสวมเครื่องประดับจากมุกดาหาในพระหัตถ์ขวาถือดาบ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า นางทรงอาชาพยัคฆ์เป็นพาหนะและบริโภคน้ำมันเป็นเครื่องสักการะ 

Rakshasa
Devi

รากษสเทวี

รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมราเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)



Manda Devi

มัณฑาเทวี

มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)



Kirini Devi

กิริณีเทวี

กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี นางสวมพวงมาลัยดอกยี่หุบ และเครื่องประดับจากมรกต นางสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง) ภักษาหารของนางคือถั่วและงา พระหัตถ์ขวาถือดาบ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือปืน 

Kimita Devi

กิมิทาเทวี

กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ นางสวมพวงมาลัยดอกจงกลนี และเครื่องประดับจากบุษราคัม ภักษาหารของนางคือกล้วยและน้ำ นางทรงประทับยืรเหนือมหิงสา พระหัตถ์ขวาถือ ดาบ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือ พิณ